ข่าวเด่น
ความแตกต่างระหว่างสหกิจศึกษากับฝึกงาน

พฤหัสบดี ที่ 11 เดือน กรกฏาคม พ.ศ.2556


ความแตกต่างระหว่างสหกิจศึกษากับฝึกงาน

ประเด็นการเปรียบเทียบ

การปฏิบัติสหกิจศึกษา

การฝึกงาน

1. รูปแบบของการขอเข้าไปปฏิบัติสหกิจศึกษาหรือฝึกงาน

นักศึกษาต้องเขียน และยื่นใบสมัครต่อองค์กรผู้ใช้บัณฑิตในลักษณะเดียวกันกับการสมัครงาน และต้องผ่านการสอบสัมภาษณ์ และการคัดเลือกจากองค์กรผู้ใช้บัณฑิต

โดยส่วนใหญ่มักไม่มีการยื่นใบสมัครและสัมภาษณ์นักศึกษาแต่พิจารณาจากหนังสือ/จดหมายขอความอนุเคราะห์รับนักศึกษาฝึกงานจากสถาบันอุดมศึกษา

2. สถานะของนักศึกษาในองค์กรผู้ใช้บัณฑิต

นักศึกษาจะเป็นเสมือนเจ้าหน้าที่หรือพนักงานปฏิบัติงานชั่วคราวในองค์กรผู้ใช้บัณฑิตในฐานะพนักงานเต็มเวลา

นักศึกษาอยู่ในสถานะของนักศึกษาฝึกงาน

3. คุณสมบัติของนักศึกษา

แต่ละมหาวิทยาลัยจะกำหนดแตกต่างกันบ้างเล็กน้อยแต่ส่วนใหญ่นักศึกษาจะต้องมีคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 2.00 ศึกษาอยู่ในระดับชั้นปี 3 หรือ 4 และต้องผ่านการพิจารณาคุณสมบัติอื่นๆ ตามเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนด

โดยส่วนใหญ่ใช้หลักเกณฑ์การเป็นนักศึกษาที่ศึกษามาแล้ว ไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ของหลักสูตร

4. ค่าตอบแทน

นักศึกษาสหกิจส่วนใหญ่จะได้รับสวัสดิการค่าจ้างหรือค่าตอบแทนอื่น ตามความเหมาะสมจากองค์กรผู้ใช้บัณฑิต

นักศึกษาอาจจะได้รับค่าจ้างหรือค่าตอบแทนตามความเหมาะสม

5. ลักษณะการทำงาน

เน้นการเรียนรู้โดยใช้ประสบการณ์จากการทำงานจริงเป็นหลัก หรือ Work-base learningหรือโครงงานพิเศษ (Project)ที่ใช้ความรู้ตรงหรือสัมพันธ์กับสาขาวิชาของนักศึกษาและเป็นประโยชน์กับองค์กรผู้ใช้บัณฑิต

ขึ้นอยู่กับองค์กรผู้ใช้บัณฑิต บางครั้งงานที่ได้รับมอบหมาย ไม่ตรงกับสาขาวิชาที่เรียน

6. ระยะเวลาการปฏิบัติงาน

ปฏิบัติงานเต็มเวลา ระยะเวลาไม่น้อยกว่า 1 ภาคการศึกษา หรือ 16 สัปดาห์ และอาจมากกว่า 1 ภาคการศึกษา (ขึ้นอยู่กับมหาวิทยาลัยกำหนด)

ฝึกงานในภาคการศึกษาฤดูร้อน โดยมีระยะเวลาไม่น้อยกว่า 200 ชั่วโมงทำการหรือไม่น้อยกว่า 20 –25 วันทำการ (ขึ้นอยู่กับสถาบันอุดมศึกษาจะกำหนด)

7.การประสานงานระหว่างสถาบันอุดมศึกษากับองค์กรผู้ใช้บัณฑิต

มีการประสานงานอย่างใกล้ชิดระหว่างบุคลากรจากสถาบันอุดมศึกษาและองค์กรผู้ใช้บัณฑิตอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ

ส่วนใหญ่จะมีการประสานงานช่วงก่อนส่งนักศึกษาเข้าฝึกงานและหลังจบการฝึกงาน

8. การดูแลนักศึกษาระหว่างการปฏิบัติงาน

องค์กรผู้ใช้บัณฑิตจัดให้มีหัวหน้างานหรือบุคลากรที่เหมาะสมทำหน้าที่พนักงานที่ปรึกษา (Job Supervisor) หรือพี่เลี้ยง (Mentor) ทำหน้าที่กำหนดงานให้นักศึกษาปฏิบัติดูแลให้คำปรึกษาแนะนำแก่นักศึกษาตลอดระยะเวลาของการปฏิบัติงาน

องค์กรผู้ใช้บัณฑิตจัดให้มีหัวหน้างานเพื่อดูแลและสอนงาน

9. การส่งผลการปฏิบัติงานของนักศึกษา

นักศึกษาสหกิจจะต้องทำรายงานวิชาการจำนวน 1 เล่ม ในหัวข้อเนื้อหาที่องค์กรผู้ใช้บัณฑิตและอาจารย์ที่ปรึกษาสหกิจศึกษาในสาขาวิชา/ภาควิชากำหนด

จัดทำรายงานผลการปฏิบัติงาน

10. การติดตามผลการปฏิบัติงาน

อาจารย์นิเทศหรืออาจารย์ที่ปรึกษาสหกิจศึกษาในสาขา/ภาควิชาจะทำหน้าที่ดูแล ติดตามการปฏิบัติงานตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ รวมทั้งการนิเทศงานของนักศึกษาอย่างน้อย 2 ครั้ง ระหว่างที่นักศึกษาปฏิบัติงาน ณ องค์กรผู้ใช้บัณฑิต

คณะกรรมการดำเนินงานออกตรวจเยี่ยมนักศึกษาฝึกงานไม่น้อยกว่า 1 ครั้ง ตลอดระยะเวลาของการฝึกงาน

11. การประเมินผล

ต้องผ่านการประเมินผลจากอาจารย์ที่ปรึกษาร่วมกับพนักงานที่ปรึกษา

พิจารณาจากผลการประเมินงานขององค์กรผู้ใช้บัณฑิตและกรรมการดำเนินงานการฝึกงาน

12. การสรุปผลการปฏิบัติงาน

เมื่อเสร็จสิ้นการปฏิบัติงานจะมีการสัมมนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างนักศึกษา ผู้บริหารและผู้แทนองค์กรผู้ใช้บัณฑิต ผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษา เพื่อทราบถึงพัฒนาการและความสามารถในการนำเสนอและถ่ายทอดแลกเปลี่ยนประสบการณ์

การจัดกิจกรรมเมื่อสิ้นสุดการฝึกงานขึ้นอยู่กับแต่ละสถาบันอุดมศึกษาเป็นผู้กำหนด

ที่มา:สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา



เข้าชม : 56358


ข่าวเด่น 5 อันดับล่าสุด

      รางวัลผลงานสหกิจศึกษาและการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงานเเด่นระดับเครือข่ายพัฒนาสหกิจศึกษาภาคใต้ตอนล่าง ประจำปี พ.ศ.2563 และ 2564 15 / มิ.ย. / 2564
      รางวัลผลงานสหกิจศึกษาและการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงาน ดีเด่นระดับชาติ ประจำปี พ.ศ.๒๕๖๓ 15 / มิ.ย. / 2564
      ประกาศงดให้บริการ 22 / มี.ค. / 2563
      ม.อ.สุราษฎร์ฯ จัดการประกวดโครงงานสหกิจศึกษา ครั้งที่ 3 15 / ส.ค. / 2562
      ม.อ.สุราษฎร์ฯ จับมือสภาอุตสาหกรรมจังหวัดสุราษฎร์ธานี ร่วมหารือการจัดการศึกษาแบบบูรณาการกับการทำงาน (WIL) 15 / ส.ค. / 2562